สี่เหลี่ยมมุมมน: สรุปสาระสำคัญระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการ
ฝึกอบรม การจัดงาน และการประชุมระหว่างประเทศ พ.ศ.2549

 

 

 

 

สี่เหลี่ยมมุมมน: I.	ค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม
 

 

 


1.

ผู้เข้ารับการอบรม หมายถึง บุคลกรของรัฐ  หรือ บุคคลซึ่งมิใช่บุคลากรของรัฐที่เข้ารับตามโครงการหรือหลักสูตรการ

 

2

การฝึกอบรมไว้  3  ระดับ  ดังนี้

2.1 การฝึกอบรมระดับต้น หมายความว่า การฝึกอบรมที่ผู้เข้ารับการฝึกอบรมเกินกึ่งหนึ่งเป็นบุคลากรของรัฐ ซึ่งเป็นข้าราชการระดับ 1- 2  หรือมีระดับตำแหน่งเทียบเท่าข้าราชการระดับ 1 - 2

2.2  การฝึกอบรมระดับกลาง หมายความว่า การฝึกอบรมที่ผู้เข้ารับการฝึกอบรมเกินกึ่งหนึ่งเป็นบุคลากรของรัฐซึ่งข้าราชการตั้งแต่ระดับ 3 – 8  หรือมีระดับตำแหน่งเทียบเท่าข้าราชการระดับ 3 - 8

2.3 การฝึกอบรมระดับสูง หมายความว่า การฝึกอบรมที่ผู้เข้ารับการฝึกอบรมเกินกึ่งหนึ่งเป็นบุคลากรของรัฐ ซึ่งเป็นข้าราชการตั้งแต่ระดับ 9 ขึ้นไป  หรือมีระดับตำแหน่งเทียบเท่าข้าราชการตั้งแต่ระดับ 9 ขึ้นไป

 

3.

บุคคลที่จะเบิกค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม

3.1 ประธานในพิธีเปิดหรือปิดการฝึกอบรม แขกผู้มีเกียรติ และผู้ติดตาม

3.2 เจ้าหน้าที่ (บุคลากรของรัฐ ที่ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติงานตามระเบียบนี้ รวมถึงบุคคลอื่นที่ได้รับ  

     แต่งตั้งให้ปฏิบัติงาน และเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย)

3.3 วิทยากร

3.4 ผู้เข้ารับการฝึกอบรม

3.5 ผู้สังเกตการณ์

 

4.

การเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมในประเทศ พิจารณาได้เป็น  2  กรณี 

4.1 เป็นหน่วยงานผู้จัดฝึกอบรม

4.2 เป็นผู้ส่งบุคลากรเข้ารับการฝึกอบรม

 

 

 

4.1 กรณีเป็นหน่วยงานผู้จัดฝึกอบรม  

      4.1.1  โครงการ/หลักสูตรการฝึกอบรม  ต้องได้รับอนุมัติจากหัวหน้าส่วนราชการเจ้าของงบประมาณ

       4.1.2  ค่าใช้จ่ายในการจัดฝึกอบรม ให้ส่วนราชการผู้จัดฝึกอบรมใช้ดุลพินิจเบิกค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม

 

 

 

ได้เท่าที่จ่ายจริง  โดยคำนึงถึงความจำเป็น เหมาะสม และประหยัด เพื่อประโยชน์ของทางราชการ  ยกเว้น ค่าสมนาคุณวิทยากร  ค่าอาหาร  ค่าเช่าที่พัก  และค่าพาหนะ  ให้เบิกจ่ายตามหลักเกณฑ์ และอัตราตามที่กำหนดไว้ในระเบียบดังนี้    

 

 

 

Ø ค่าสมนาคุณวิทยากร  

. หลักเกณฑ์การจ่าย

1)  ชั่วโมงการฝึกอบรบที่มีลักษณะเป็นการบรรยาย ให้จ่ายไม่เกิน 1 คน

2)  ชั่วโมงการฝึกอบรบที่มีลักษณะเป็นการอภิปรายเป็นคณะ หรือสัมมนาจ่ายได้ไม่เกิน 5 คน

3)  ชั่วโมงการฝึกอบรบที่มีลักษณะเป็นการแบ่งกลุ่มฝึกภาคปฏิบัติ แบ่งกลุ่มอภิปรายหรือแบ่งกลุ่มทำกิจกรรม จ่ายไม่เกินกลุ่มละ 2 คน

4)  ชั่วโมงการฝึกอบรมใดมีวิทยากรเกินกว่าจำนวนที่กำหนดไว้ข้างต้นให้เฉลี่ยจ่าย ค่าสมนาคุณภายในจำนวนเงินที่จ่ายได้ตามหลักเกณฑ์

5)  ชั่วโมงการฝึกอบรมต้องมีกำหนดเวลาการฝึกอบรมไม่น้อยกว่าห้าสิบนาที

 

***กรณีกำหนดเวลาการฝึกอบรมไม่ถึงห้าสิบนาที แต่ไม่น้อยกว่ายี่สิบห้านาทีให้เบิกจ่ายค่าสมนาคุณวิทยากรได้กึ่งหนึ่ง

 

 

 

ข. อัตราค่าสมนาคุณวิทยากร

 

 

ระดับการอบรม

  วิทยากรเป็นบุคลากรของรัฐ

  วิทยากรที่มิใช่บุคลากรของรัฐ

 

 

ระดับต้น/กลาง/บุคคลภายนอก

ไม่เกิน ชม.ละ 600 บาท

ไม่เกิน ชม.ละ 1,200 บาท

 

ระดับ สูง

ไม่เกิน ชม.ละ 800 บาท

ไม่เกิน ชม.ละ 1,600 บาท

 

หมายเหตุ  (1)   การจ่ายค่าสมนาคุณวิทยากรที่สังกัดส่วนราชการผู้จัดฯ ให้อยู่ในดุลพินิจของหัวหน้าส่วนราชการที่จะจ่ายได้ตามความจำเป็นที่เหมาะสม แต่ต้องไม่เกินอัตราค่าวิทยากรที่เป็นบุคลากรภาครัฐ

 (2)  กรณีจำเป็นต้องจ่ายค่าวิทยากรสูงกว่าอัตราที่กำหนด เพราะวิทยากรมีความรู้ความสามารถและประสบการณ์เป็นพิเศษ ให้อยู่ในดุลพินิจของหัวหน้าส่วนราชการเจ้าของงบประมาณ

 

 

 

Ø ค่าอาหาร

 

                                                     อัตราค่าอาหารในการฝึกอบรม                

    (บาท/วัน/คน)

 

 

 

ระดับ

จัดในสถานที่ราชการ 

จัดในสถานที่เอกชน 

จัดในสถานที่เอกชนของต่างประเทศ 

 

ระดับต้น/กลาง/บุคคลภายนอก

ครบทุกมื้อ       500

ไม่ครบทุกมื้อ    300

ครบทุกมื้อ      800

ไม่ครบทุกมื้อ   600

 

ไม่เกิน 2,500

 

 

ระดับสูง

ครบทุกมื้อ       700

ไม่ครบทุกมื้อ    500

ครบทุกมื้อ   1,100

ไม่ครบทุกมื้อ   700

 

ไม่เกิน 2,500

 

หมายเหตุ   ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มในระเบียบนี้ไม่ได้กำหนดอัตราไว้

 

 

Ø  ค่าที่พัก

 

                     อัตราค่าที่พักในประเทศ

 

 

ระดับการฝึกอบรม

ค่าเช่าห้องพักคนเดี่ยว

ค่าเช่าห้องพักคู่

 

ระดับต้น/กลาง/บุคคลภายนอก    

ไม่เกิน 1,200  บาท/วัน/คน

ไม่เกิน 750  บาท/วัน/คน

 

 ระดับสูง

ไม่เกิน 2,000  บาท/วัน/คน

ไม่เกิน 1,100  บาท/วัน/คน

 

หมายเหตุ  กรณีผู้จัดไม่ได้จัดที่พักให้บุคคลภายนอก  ให้เบิกจ่ายลักษณะเหมาจ่าย ไม่เกินคนละ 500 บาทต่อวัน

 

 

 

             อัตราค่าเช่าที่พักในการฝึกอบรมในต่างประเทศ        

             (บาท/วัน/คน)

 

 

ระดับการฝึกอบรม

ประเภท ก.

ประเภท ข.

ประเภท ค.

 

ค่าเช่าห้อง

พักคนเดียว

ค่าเช่า

ห้องพักคู่

ค่าเช่าห้องพัก

คนเดียว

ค่าเช่า

ห้องพักคู่

ค่าเช่าห้อง

พักคนเดียว

ค่าเช่า

ห้องพักคู่

 

ระดับต้น/กลาง/บุคคลภายนอก

 

ไม่เกิน 6,000

 

ไม่เกิน 4,200

 

ไม่เกิน  4,000

 

ไม่เกิน 2,800

 

ไม่เกิน  2,400

 

ไม่เกิน  1,700

 

 

ระดับสูง

 

 

ไม่เกิน 8,000

 

ไม่เกิน 5,600

 

ไม่เกิน  5,600

 

ไม่เกิน 3,900

 

ไม่เกิน  3,600

 

ไม่เกิน   2,500

 

หมายเหตุ    ประเภท ก.  ประเภท ข.  ประเภท ค. หมายถึง ประเทศ รัฐ  เมือง ตามบัญชีแนบท้ายระเบียบฯ

 

 

 

Ø     ค่าพาหนะ

                 กรณีส่วนราชการผู้จัดฝึกอบรมจัดยานพาหนะในการฝึกอบรม และออกค่าพาหนะให้บุคคลตามข้อ 11 ของระเบียบฯ การเบิกจ่ายให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังนี้

1) กรณีใช้ยานพาหนะของส่วนราชการผู้จัด หรือกรณียืมยานพาหนะจากส่วนราชการอื่น ให้เบิกค่า  น้ำมันเชื้อเพลิงได้เท่าที่จ่ายจริง

2) กรณีใช้ยานพาหนะประจำทางหรือเช่าเหมายานพาหนะ ให้จัดยานพาหนะโดยอนุโลมตามสิทธิของข้าราชการ ตามพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ โดยให้เบิกจ่ายได้เท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็นและประหยัด ดังนี้

()  การฝึกอบรมระดับต้นหรือการฝึกอบรมบุคคลภายนอกให้จัดยานพาหนะตามสิทธิของข้าราชการระดับ 5 หรือเทียบเท่า สำหรับการฝึกอบรมระดับกลางให้จัดยานพาหนะตามสิทธิของข้าราชการระดับ 6 หรือเทียบเท่า

()  การฝึกอบรมระดับสูง ให้จัดยานพาหนะตามสิทธิของข้าราชการระดับ 10  หรือเทียบเท่า เว้นแต่กรณีเดินทางโดยเครื่องบินให้ใช้ชั้นธุรกิจ กรณีที่ไม่สามารถเดินทางโดยชั้นธุรกิจให้เดินทางโดยชั้นหนึ่ง

 

 

กรณีส่วนราชการผู้จัดฝึกอบรมไม่จัดอาหาร ที่พักหรือยานพาหนะทั้งหมดหรือจัดให้บางส่วน 

ให้ส่วนราชการผู้จัดฝึกอบรมเบิกค่าใช้จ่ายทั้งหมดหรือส่วนที่ขาดให้แก่บุคคลตามระเบียบฯ ข้อ 11 แต่ถ้าบุคคลตามระเบียบฯ ข้อ 11 (4) และ (5) เป็นบุคคลของรัฐให้เบิกจ่ายจากต้นสังกัด ทั้งนี้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ    เว้นแต่ การคำนวณเวลาเพื่อเบิก เบี้ยเลี้ยงเดินทางให้นับตั้งแต่เวลาที่เดินทางออกจากสถานที่อยู่หรือสถานที่ปฏิบัติราชการตามปกติ จนกลับถึงสถานที่อยู่หรือสถานที่ปฏิบัติราชการตามปกติแล้วแต่กรณี แล้วนำจำนวนวันทั้งหมดมา คูณ กับอัตราเบี้ยเลี้ยงเดินทางเหมาจ่ายต่อวัน เพื่อเป็นค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทาง

ในกรณีที่ผู้จัดการฝึกอบรมจัดอาหารบางมื้อในระหว่างการฝึกอบรม ให้หักเบี้ยเลี้ยงเดินทางที่คำนวณได้ในอัตรามื้อละ 1 ใน 3 ของอัตราเบี้ยเลี้ยงเดินทางเหมาจ่ายต่อวัน

 

กรณีเป็นการจัดฝึกอบรมบุคคลภายนอก

ให้ส่วนราชการผู้จัดการฝึกอบรมเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายทั้งหมดหรือส่วนที่ขาดให้แก่ผู้เข้ารับการฝึกอบรมที่ มิได้เป็นบุคลากรของรัฐตามหลักเกณฑ์ ดังนี้

1) ค่าเบี้ยเลี้ยง

. การฝึกอบรมที่ไม่จัดอาหารทั้ง 3 มื้อ ให้เบิกจ่ายค่าเบี้ยเลี้ยงได้ไม่เกินคนละ 120 บาทต่อวัน

. การฝึกอบรมที่จัดอาหารให้ 2 มื้อ ให้เบิกจ่ายค่าเบี้ยเลี้ยงได้ไม่เกินคนละ 40 บาทต่อวัน

. การฝึกอบรมที่จัดอาหารให้ 1 มื้อ ให้เบิกจ่ายค่าเบี้ยเลี้ยงได้ไม่เกินคนละ 80 บาทต่อวัน

2) ค่าเช่าที่พัก ให้เบิกเหมาจ่ายไม่เกินคนละ 500 บาท ต่อวัน

3) ค่าพาหนะเดินทาง ยกเว้น ค่าโดยสารเครื่องบิน ให้อยู่ในดุลพินิจของหัวหน้าส่วนราชการผู้จัดการฝึกอบรมที่จะพิจารณาให้เบิกจ่ายตามที่จ่ายจริง หรือตามความจำเป็นและเหมาะสม

 

 

4.2 กรณีเป็นผู้ส่งบุคลากรเข้ารับการฝึกอบรม

การเบิกค่าใช้จ่ายของผู้เข้ารับการฝึกอบรมและผู้สังเกตการณ์

(1) ค่าลงทะเบียน ค่าธรรมเนียม ให้เบิกจ่ายเท่าที่จ่ายจริงในอัตราที่ส่วนราชการหรือหน่วยงานผู้จัดการฝึกอบรมเรียกเก็บ

(2) กรณีหน่วยงานผู้จัดฝึกอบรมได้รวมค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับค่าอาหาร ค่าที่พัก และค่าพาหนะไว้ในค่าลงทะเบียน ค่าธรรมเนียม หรือส่วนราชการผู้จัดการฝึกอบรมได้ออกค่าอาหาร ค่าเช่าที่พัก หรือค่าพาหนะทั้งหมด ให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมและผู้สังเกตการณ์งดเบิกค่าใช้จ่ายดังกล่าว

(3) กรณีหน่วยงานผู้จัดฝึกอบรมไม่รวมค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับค่าอาหาร ค่าที่พัก และค่าพาหนะไว้ในค่าลงทะเบียน ค่าธรรมเนียม หรือรวมไว้บางส่วน ให้เบิกค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมเฉพาะส่วนที่หน่วยงานมิได้ออกให้ โดยอนุโลมตามพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ เว้นแต่การคำนวณเวลาเพื่อเบิก

 

    เบี้ยเลี้ยงเดินทางให้นับตั้งแต่เวลาที่เดินทางออกจากสถานที่อยู่หรือสถานที่ปฏิบัติราชการตามปกติ จน

    กลับถึงสถานที่อยู่หรือสถานที่ปฏิบัติราชการตามปกติ แล้วแต่กรณีแล้วนำจำนวนวันทั้งหมดมาคูณกับอัตราเบี้ยเลี้ยงเดินทางเหมาจ่ายต่อวัน เพื่อเป็นค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทาง

    (4) ในกรณีที่ผู้จัดการฝึกอบรมจัดอาหารบางมื้อในระหว่างการฝึกอบรม ให้หักเบี้ยเลี้ยงเดินทางที่คำนวณได้ในอัตรามื้อละ 1 ใน 3 ของอัตราเบี้ยเลี้ยงเดินทางเหมาจ่ายต่อวัน     การคำนวณวัน ให้นับ 24 ชั่วโมงเป็น 1 วัน ถ้าไม่ถึง 24 ชั่วโมง และส่วนที่ไม่ถึง 24 ชั่วโมงนั้นมากกว่า 12 ชั่วโมงให้ถือเป็น 1 วัน

5.

 

การเดินทางไปต่างประเทศ และมีสิทธิเบิกค่าเครื่องแต่งตัว ให้เหมาจ่ายได้ดังนี้

 ระดับ 5 ลงมา เหมาจ่าย 7,500 บาท/คน

 ระดับ 6 ขึ้นไป เหมาจ่าย 9,000 บาท/คน

(ยกเว้น 14 ประเทศ ที่ไม่สามารถเบิกจ่ายค่าเครื่องแต่งตัวได้ )

6.

ส่วนราชการสามารถจ้างจัดฝึกอบรมในโครงการทั้งหมด หรือบางส่วนได้ ตามหลักเกณฑ์และค่าใช้จ่ายตามระเบียบนี้

7.

การเบิกค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม การจัดงาน และการจัดประชุมระหว่างประเทศ นอกเหนือจากที่กำหนดไว้ในระเบียบนี้หรือที่กำหนดไว้แล้วแต่ไม่สามารถปฏิบัติได้ตามระเบียบนี้ ให้อยู่ในดุลพินิจของหัวหน้าส่วนราชการเจ้าของงบประมาณ

 

สี่เหลี่ยมมุมมน: II.	ค่าใช้จ่ายในการจัดงาน
 

 

 


1.

การจัดงานตามแผนงานโครงการตามภารกิจปกติหรือตามนโยบายของทางราชการ เช่น การจัดงานวันคล้ายวันสถาปนาของส่วนราชการ การจัดงานนิทรรศการ การจัดงานแถลงข่าว การจัดประกวดหรือแข่งขัน หรือการจัดกิจกรรมต่างๆ เป็นต้น ให้หัวหน้าส่วนราชการเจ้าของงบประมาณพิจารณาอนุมัติการเบิกค่าใช้จ่ายได้เท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็น เหมาะสม และประหยัด

2.

ส่วนราชการสามารถหาผู้รับจ้างให้มาดำเนินการจัดงานได้ โดยอยู่ในดุลพินิจของหัวหน้าส่วนราชการเจ้าของงบประมาณ โดยให้ใช้ใบเสร็จรับเงินของผู้รับจ้างในการจัดงานเป็นหลักฐานในการเบิกจ่าย

 

 

สี่เหลี่ยมมุมมน: III.	ค่าใช้จ่ายในการจัดประชุมระหว่างประเทศ
 

 


1.

บุคคลที่จะเบิกค่าใช้จ่ายในการประชุมระหว่างประเทศ

1.1 ประธานในพิธีเปิดหรือปิดการฝึกอบรม แขกผู้มีเกียรติ และผู้ติดตาม

1.2 เจ้าหน้าที่ 

1.3 เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานลักษณะพิเศษ**

 

1.4 วิทยากร

1.5 ผู้เข้าร่วมประชุม

** หมายถึง บุคคลซึ่งมิได้เป็นบุคลากรของรัฐและได้รับแต่งตั้งจากหัวหน้าส่วนราชการผู้จัดการประชุมระหว่างประเทศให้ปฏิบัติงานในการประชุมระหว่างประเทศ เช่น พนักงานพิมพ์ดีด พนักงานบันทึกข้อมูล พนักงานแปล ล่ามและผู้จดบันทึกสรุปประเด็นในการประชุมระหว่างประเทศ เป็นต้น

2.

ไม่ระบุประเภทค่าใช้จ่ายในการจัดประชุมระหว่างประเทศว่าได้แก่อะไรบ้าง กำหนดแต่เพียงว่า ค่าใช้จ่ายก่อน ระหว่าง และหลังการจัดประชุมระหว่างประเทศ ให้เบิกจ่ายได้เท่าที่จ่ายจริง ตามความจำเป็น เหมาะสม และประหยัด เพื่อประโยชน์ของส่วนราชการ  ยกเว้น ค่าสมนาคุณวิทยากร เงินรางวัลของเจ้าหน้าที่ ค่าอาหาร  ค่าเช่าที่พัก และค่าพาหนะ ให้เบิกจ่ายตามหลักเกณฑ์และอัตราที่กำหนดไว้ในระเบียบนี้ 

3.

การประชุมระหว่างประเทศที่กำหนดผู้เข้าร่วมประชุมเป็นบุคคลระดับรัฐมนตรีหรือสมาชิกรัฐสภาขึ้นไปให้เบิกจ่ายค่าอาหาร ค่าเช่าที่พัก หรือค่าพาหนะ ได้เท่าที่จ่ายจริง โดยให้อยู่ในดุลพินิจของหัวหน้าส่วนราชการเจ้าของงบประมาณ

4.

การประชุมระหว่างประเทศนอกเหนือจากข้อ 3  ให้เบิกจ่ายค่าอาหาร ค่าเช่าที่พัก หรือค่าพาหนะได้เท่าที่จ่ายจริงไม่เกินอัตราดังนี้

 

4.1

อาหารและเครื่องดื่ม

(1) ครบทุกมื้อ ไม่เกิน 1,200 บาท/วัน/คน

(2) ไม่ครบทุกมื้อ ไม่เกิน 800 บาท/วัน/คน

(ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มในระเบียบนี้ไม่ได้กำหนดอัตราไว้)

 

4.2

ค่าที่พัก ไม่เกิน 2,000 บาท/วัน/คน

 

4.3

ค่าพาหนะให้เบิกจ่ายได้เท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็นและเหมาะสม โดยให้อยู่ในดุลพินิจของหัวหน้าส่วนราชการเจ้าของงบประมาณ

5.

ค่าสมนาคุณวิทยากรให้เบิกตามหลักเกณฑ์ข้อ 16 ของระเบียบนี้ แต่ไม่ได้กำหนดอัตราการจ่ายไว้เพียงแต่ให้เบิกจ่ายตามความจำเป็นและเหมาะสม โดยให้อยู่ในดุลพินิจของหัวหน้าส่วนราชการเจ้าของงบประมาณ

6.

เจ้าหน้าที่ซึ่งปฏิบัติงานในการประชุมระหว่างประเทศให้ได้รับเงินรางวัลเฉพาะวันที่ปฏิบัติงานคนละไม่เกิน 200 บาท/วัน

7.

เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานลักษณะพิเศษ ให้เบิกจ่ายค่าตอบแทนเฉพาะวันที่ปฏิบัติงานตามหลักเกณฑ์และอัตราที่หัวหน้าส่วนราชการเจ้าของงบประมาณกำหนด

8.

ค่าใช้จ่ายที่เป็นค่าลงทะเบียน ค่าธรรมเนียม หรือค่าใช้จ่ายทำนองเดียวกันที่เรียกชื่ออย่างอื่นสำหรับผู้เข้าร่วมประชุม ให้เบิกจ่ายเท่าที่จ่ายจริงในอัตราไม่ที่ผู้จัดการประชุมระหว่างประเทศเรียกเก็บ

9

ส่วนราชการสามารถจ้างจัดประชุมระหว่างประเทศได้ โดยให้อยู่ในดุลพินิจของหัวหน้าส่วนเจ้าของงบประมาณ

 

------------------------------------------------------------------------

       สรุปโดย   หน่วยตรวจสอบภายใน  สป.   9 พฤศจิกายน 2550